> ค่า ลูเมน คือ อะไร? (Lumen) ควรเช็คให้ดีก่อนซื้อ หลอดไฟ LED ไม่งั้นบ้งแน่ !

ค่า ลูเมน คือ อะไร? (Lumen) ควรเช็คให้ดีก่อนซื้อ หลอดไฟ LED ไม่งั้นบ้งแน่ !

ค่า ลูเมน คือ อะไร (Lumen) ควรเช็คให้ดีก่อนซื้อ หลอดไฟ LED ไม่งั้นบ้งแน่

หลายท่านที่กำลังจะซื้อ หลอดไฟ LED คงจะเห็นค่า ลูเมน ตามกล่องหลอดไฟ ผ่านตาไม่มากก็น้อย วันนี้ สยาม แอลอีดี จะพาทุกท่านไปรู้จักกับค่า ลูเมน คือ อะไร ? Lumen คือ ค่าวัดความกำลังความสว่างของแสงที่ออกมาจากหลอดไฟ หากเป็นหลอด LED ก็คือค่าของแสงที่เปล่งออกมาจากหลอดไฟนั่นเอง  หลายๆ ท่านมักเค้าใจผิดคิดว่าค่า Watt ยิ่งมาก ยิ่งให้แสงสว่างมากกว่า ค่าวัตต์ที่น้อยให้แสงสว่างน้อย จริงๆ แล้วควรนำค่าวัตต์ มาหารค่าลูเมน (Lumen) ด้วย ยกตัวอย่างเช่น 

- หลอด T8 LED ยี่ห้อ A มีค่าลูเมน 3600 Lumen มีค่า Watt 16 วัตต์

จะได้เท่ากับ 3600 / 16 = 225 ลูเมน / วัตต์ 

- หลอด T8 LED ยี่ห้อ B มีค่าลูเมน 3600 Lumen มีค่า Watt 12 วัตต์

จะได้เท่ากับ 3600 / 12 = 300 ลูเมน / วัตต์

** เท่ากับว่า หลอด T8 LED ยี่ห้อ B ให้แสงสว่าง Lumen ที่มากกว่า ยี่ห้อ A โดยกินไฟเพียงแค่ 12 วัตต์เท่านั้นเอง (ยกตัวอย่างเฉยๆ นะ เพราะจริงๆ แล้วหลอด T8 12 watt 3600 ลูเมน ไม่น่าจะมี 555 )

ความแตกต่างระหว่าง ค่าลักซ์ (Lux) และ ค่า ลูเมน คืออะไร

ค่า ลูเมน คือ (Lumen) จะเป็นการเฉพาะวัด flux หรือ การวัดว่ามีพลังงานแสงออกมาจากหลอดไฟ หรือแหล่งกำเนิดแสงเท่าไหร่ ณ ช่วงเวลาหนึ่ง ( โดยวัดเฉพาะค่าแสงที่เราสามารถมองเห็นได้ด้วยสายตา ไม่ใช่พลังงานทั้งหมด ) นอกจากนี้ ค่า Lumen ยังสามารถวัดอัตราส่วนระหว่าง flux การส่องสว่าง (ปริมาณแสง) กับกำลังงานที่ทำให้เกิดฟลักซ์การส่องสว่าง ซึ่งเป็นการวัดประสิทธิภาพของหลอดไฟ มีหน่วยเป็น lumen / watt หรือที่ใช้อักษรย่อ lm/w เช่น โคมไฮเบย์ LED 100w มีค่าลูเมนส์ 9000 Lumen (90 lm/w) ค่า lm/w คือค่าที่เกิดจากการนำค่าลูเมนส์หารด้วยกำลังวัตต์

ค่า Lux คือ ค่าที่วัด illumination ของแสง หรือความส่องสว่าง ซึ่งเป็นพลังงานที่ออกมาจากแหล่งกำเนิดแสง จะต่างจากค่า Lumen คือ ตรงที่ค่า Lux จะวัดแสงจากแหล่งกำเนิดแสง ตลอดจนแสงกระทบพิ้นผิว

แรงเทียน (Candle Power) หรือ แคนเดลา (Candela) ตัวย่อ cd

คือหน่วยที่ใช้วัดความเข้มของการส่องสว่าง (luminous intensity) หมายความว่า ถ้าเราเอาแหล่งกำเนิดแสงไว้ที่ศูนย์กลางของทรงกลม ซึ่งมีรัศมีเท่ากับ 1 ฟุต พื้นที่ผิวของทรงกลมขนาด 1 ตารางฟุต จะวัดความสว่างได้เท่ากับ 1 ฟุต-แคนเดิล ตัวย่อ fc หรือเท่ากับ 1 ลูเมน/ตารางฟุต

เราสามารถเปรียบเทียบได้ตามหน่วยวัดพื้นที่ และหน่วยวัดความสว่าง ดังนี้

หน่วยวัดพื้นที่ 1 เมตร = 3.28 ฟุต / 1 ตารางเมตร = 10.76 ตารางฟุต

หน่วยวัดความสว่าง 1 fc = 1 l m / 1 Foot2 (ตารางฟุต) / 1 f c = 1 lm / 10.76 m2 (ตารางเมตร)

1 fc = 0.09 lm / m2 (ตารางเมตร) / 1 f c = 0.09 lux / 1lux = 10.76 fc

1 lux = 10.76 lm / Foot2 (ตารางฟุต) / 1 cd = 12.57 lm


เราจะเลือกหลอดไฟ LED ใช้ภายในบ้านอย่างไร ?

เริ่มจาก หน่วยของความสว่าง (Lumen) ก่อนที่จะไปเลือกความสว่างของหลอดไฟ LED แต่ละห้องเรามา ทำความรู้จักกับหน่วยวัดความสว่างกันก่อนดีกว่า

ความสว่าง มีหน่วยเป็นลักซ์ (Lux) คือ ปริมาณแสงที่กระทบลงบนวัตถุต่อพื้นที่มีหน่วยเป็น “ลูเมนต่อตารางเมตร” หรือลักซ์ การวัดค่าความสว่าง จะใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า “ลักซ์มิเตอร์” เป็นเครื่องมือวัดค่าความสว่างของโคมไฟนั้น

ปริมาณแสง มีหน่วยเป็นลูเมน (Lumen) คือ หน่วยการวัดปริมาณแสงซึ่งเป็นการวัดในรูปของเส้นแรงของแสง โดยการบอกค่าปริมาณแสงที่ออกมาจากหลอดไฟฟ้า มีหน่วยเป็นลูเมน พูดง่าย ๆ คือ หากหลอดไฟมีค่าลูเมนสูง ก็จะให้ความสว่างสูงนั่นเอง

กำลังไฟฟ้า มีหน่วยเป็นวัตต์ (Watt) คือ อัตราการกินไฟของหลอดไฟชนิดนั้น ๆ เช่น หลอดไฟ อุปกรณ์โคมไฟจำพวกบัลลาสต์ หรือทรานฟอร์เมอร์ วิธีดูอย่างง่าย คือ ถ้าจำนวนวัตต์ (watt) สูง แปลว่าหลอดไฟ LED หรือ โคมไฟ LED นั้นจะกินไฟมาก และค่าไฟก็จะมากขึ้นด้วย

อุณหภูมิสีของแสง (Color Temperature) มีหน่วยเป็นเคลวิน (Kelvin) คือ อุณหภูมิแสงที่แสดงเป็นตัวเลข สังเกตุได้ว่าจะอยู่บนกล่องหลอดไฟ ซึ่งแต่ละยี่ห้องนั้นจะมีชื่อเรียกแตกต่างกัน เช่น อุณหภูมิแสง 2700K และ 3000K เรียกว่า สีวอร์มไวท์ สีของแสงจะออกไปโทนส้มเหลือง อุณหภูมิแสง 4000K เรียกว่า สีคูลไวท์ สีของแสงจะออกไปทางสีเหลืองขาว อุณหภูมิแสง 6500K เรียกว่า สีเดย์ไลท์ สีของแสงจะออกไปทางสีขาวอมฟ้า

จะเห็นได้ว่าค่า ลูเมน (lumen) เป็นอีกหนึ่งปัจจัยในการเลือก หลอด LED อย่างมาก การพิจารณาเลือก หลอด LED 1 หลอดนอกจากดู Lumen แล้ว ยังต้องดูจำนวนวัตต์ เมื่อเปรียบเทียบกับยี่ห้ออื่นแล้ว ลูเมนต่อวัตต์อันไหนคุ้มกว่ากัน 

แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น

หลอดไฟ led คือ ? ดีอย่างไร ทำไมถึงลดค่าใช้จ่ายได้มากมาย

หลอดไฟ LED คือ อะไร

แล้ว ซึ่งหลอดไฟในยุคแรกตัวไส้นั้นทำจากคาร์บอน และต่อมาได้วิวัฒนาการมาเป็น ไส้ทังสเตน ที่เรายังใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ ซึ่งข้อเสียของหลอดไส้นั้นมีมากมาย ทั้งเรื่องอายุการใช้งานที่สั้น และสิ้นเปลือง มากกว่า หลอดไฟ LED ซึ่งถือว่าเป็นเทคโนโลยีใหม่ วันนี้เราจะพาไปรู้จักกับ หลอดไฟ led คือ อะไร ทำไมถึงต้องใช้กัน

หลอดไฟ led คือ อะไร?

ย้อนกลับไปสมัยที่ LED ได้ถือกำเนิดครั้งแรกในปี ค.ศ. 1962 หรือเมื่อกว่า 60 ปีที่แล้ว โดย Nick Holonyak Jr. ได้คิดค้น LED แสงสีแดงขึ้น ซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นหลอดไฟ LED สำหรับแสงสถานะ (LED Indicator light) สำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ แต่ LED ในยุคแรกนั้นยังไม่สามารถนำมาผลิตเป็นหลอดไฟแสงสว่างได้ เนื่องจากหลอดไฟ LED สีแดงนั้นมีประสิทธิภาพในการให้แสงสว่างต่ำและไม่ทนต่อสภาพแวดล้อม

หลังจากที่ LED ได้ถือกำเนิดขึ้นมากว่า 33 ปี และถูกใช้เป็นเพียงไฟแสดงสถานะ ทีมวิศวกรชาวญี่ปุ่น ซึ่งนำทีมโดย Shiji Nakamura จากบริษัท Nichia ได้คิดค้น LED แสงสีฟ้า (LED Blue Light) ขึ้นเมื่อปี 1995 ซึ่งการคิดค้นในครั้งนี้เป็นการผลิต LED จากผลึกของสาร Gallium Nitride (GaN) และนับว่าเป็นการปฎิวัติวงการ LED ไปอย่างสิ้นเชิง

เนื่องจาก LED แสงสีฟ้านี้มีประสิทธิภาพสูงจนสามารถนำ LED มาใช้เป็นต้นกำเนิดของไฟแสงสว่างได้ รวมถึงมีประสิทธิภาพที่ดีกว่าหลอดไฟรุ่นเก่า ๆ มาก โดย Shiji Nakamura และทีม ได้รับรางวัล Nobel Prize สาขาฟิสิกส์ ในปี 2014 สำหรับการคิดค้น LED แสงสีฟ้านี้ขึ้นมา

หลอด LED ไดโอดเปล่งแสง (light-emitting diode) เรียกย่อ ๆ ว่า LED คือ สารกึ่งตัวนำไฟฟ้า ที่ยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แล้วปล่อยแสงสว่างออกมาได้ทันที ทั้งนี้หลอด LED ที่เราคุ้นตา จะเป็นหลอดไฟขนาดเล็กหลากสีสัน เช่น สีแดง สีน้ำเงิน เป็นต้น เนื่องจากขึ้นอยู่กับวัสดุที่นำมาใช้ แต่ต่อมามีการปรับแก้ด้วยการนำหลอด LED สีน้ำเงินไปเคลือบเรืองแสงสีเหลือง จึงทำให้แสงจากหลอด LED ส่องออกมาเป็นสีขาว และสามารถใช้เป็นหลอดไฟส่องสว่างได้หลากหลายรูปแบบมากขึ้น โดยหลอด LED นั้นมีประสิทธิภาพในการให้แสงสว่างดีกว่าหลอดไฟขนาดเล็กทั่วๆ ไป

ข้อดีของ หลอดไฟ LED คือ

  • ทนทานต่อการใช้งานมากเป็นพิเศษ แอลอีดีที่มีคุณภาพสูง มีอายุการใช้งานได้ยาวนานถึงประมาณ 10-20 ปี
  • อัตราการกินไฟต่ำมากเป็นพิเศษ แต่ได้ค่าความสว่างเท่า หลอดฟลูออเรสเซนต์ และหลอดทังสเตน(หลอดใส้) ซึ่งช่วยประหยัดไฟในระยะยาว
  • ไม่มีก๊าซพิษร้ายแรงเพื่อทำปฏิกิริยาทางไฟฟ้า และไม่มีส่วนประกอบของกระจก ปลอดภัยแม้ทำแตก หัก เสียหาย
  • มีความร้อนค่อนข้างต่ำมากเป็นพิเศษ จึงไม่ทำให้ห้องและสภาพแวดล้อมนั้นเกิดความร้อนจากแสงไฟ ช่วยลดภาระของแอร์ในการทำความเย็นลงได้ ซึ่งเท่ากับประหยัดไฟไปได้อีกต่อหนึ่ง
  • ไม่ต้องพึ่งพาบัลลาสต์และสตาร์ทเตอร์ในการติดตั้งใช้งาน แอลอีดีแบบใช้งานในบ้านส่วนมากสามารถต่อกับไฟบ้านได้โดยตรง ไม่มีการกระพริบ ไฟติดทันทีที่เปิด ซึ่งการไม่ใช้ทั้ง บัลลาสต์และสตาร์ทเตอร์ ทำไมหลอดไฟ LED ถึงประหยัดไฟมากกว่าหลอดไฟชนิดอื่นๆ
  • ไดโอดเปล่งแสงมีขนาดเล็กทำให้สามารถนำไปประกอบให้มีรูปร่างที่แตกต่างกันออกไปได้ตามการใช้งาน

ข้อเสียของ หลอดไฟ LED

  • ราคาต่อชิ้นค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับหลอดไฟแบบฟลูออเรสเซนต์ และหลอดทังสเตน (หลอดไส้)
  • LED ส่วนใหญ่ ไม่สามารถใช้กับสวิตซ์หรี่แสง (Dimmer Switch) ได้

เลือกหลอดไฟ LED ต้องดูอะไรบ้าง?

ยิ่งสว่าง แต่จริง ๆ แล้ววัตต์เป็นหน่วยของพลังงานที่ใช้ ยิ่งมากแปลว่ายิ่งกินไฟ การที่เราจะเลือกหลอดไฟมาใช้มีองค์ประกอบต่าง ๆ ที่เราต้องนำมาพิจารณาอยู่หลายตัวด้วยกัน

  • ค่าพลังงาน : มีหน่วยเป็นวัตต์ที่เราเห็นบนกล่องหลอดไฟ เป็นค่าพลังงานที่ใช้ ยิ่งวัตต์สูง ยิ่งทำให้ใช้ไฟฟ้ามากตามไปด้วย
  • ค่าฟลักซ์แสงสว่าง : มีหน่วยเป็น ลูเมน (Lumen) เป็นหน่วยวัดความสว่างของแสงที่เปล่งออกมา ยิ่งมากแสดงว่าหลอดไฟดวงนี้ให้แสงสว่างมาก
  • ค่าประสิทธิภาพ : หรือเรียกว่า Efficacy เป็นการนำค่าแสงสว่าง (ลูเมน) มาหารด้วยค่าพลังงาน (วัตต์) ค่าที่ออกมา แปลได้ว่า หลอดไฟหลอดนี้ใช้พลังงาน 1 วัตต์ ให้แสงสว่างกี่ลูเมน ยิ่งสูงแปลว่า 1 วัตต์ให้แสงสว่างเยอะ ทำให้คุ้มค่ามากยิ่งขึ้น
คุณจะเห็นภาพรวมของหลอดไฟ LED คือ อะไรถึงดีกว่าหลอดไฟประเภทอื่นๆ อย่างไร ทำไมธุรกิจ หรือครัวเรือนถึงต้องหันมาใช้หลอด LED กัน แม้ว่าจะมีราคาแพงกว่า แต่หากพูดถึงด้านประสิทธิภาพ และความคุ้มค่า หลอดไฟ LED กินขาดอย่างแน่นอน